วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



โยนิโสมนสิการ

         โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ มนสิการ โยนิโส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่าเหตุ ต้นเค้า
แหล่งเกิดปัญญา อุบาย วิธี ทาง ส่วนมนสิการ แปลว่า การทําในใจ การคิดคํานึง ใส่ใจ พิจารณา เมื่อ
รวมกันเป็นโยนิโสมนสิการ จึงเรียกว่าการทําในใจโดยแยบคายโยนิโสมนสิการเป็นหลักธรรมภาคปฏิบัติที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินชีวิตประจําวันเพื่อประโยชน์สขแก่ตัวเราเองและผู้อื่น เป็นการส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีในการฝึกอบรมตนอย่างมีสติรู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระบบ คิดวิเคราะห์ ไม่มองสิ่งต่างๆอย่างผิวเผิน คิดตามเหตุผล และคิดแบบกุศล ทําให้เรารู้จักเลือกรับรู้อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบจากภายนอก และคิดใคร่ครวญพิจารณาอารมณ์นั้นๆ
     โยนิโสมนสิการไม่ใช่ตัวปัญญา แต่เป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดปัญญา คือ เกิดสัมมาทิฏฐิที่สามารถ
กําจัดอวิชชาโดยตรง และสกัดหรือบรรเทาตัณหาได้ โยนิโสมนสิการแบ่งได้เป็น 10 วิธีได้แก่
1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย – เป็นการพิจารณาหนทางในการแก้ปัญหา ด้วยการค้นหา
สาเหตุและปัจจัยต่างๆที่สัมพันธ์กัน
2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ – เป็นวิธีคิดแบบวิเคราะห์
3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ – เป็นวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา
4. วิธีคิดแบบอริยสัจจ์/คิดแบบแก้ปัญหา – เป็นวิธีคิดตามเหตุผล
5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ – เป็นความเข้าใจในเรื่องหลักการและความมุ่งหมายซึ่งจะนําไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง
6. วิธีคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก – เป็นการพิจารณาผลดีและผลเสียไปพร้อมๆกัน
7. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม – สามารถใช้ในชีวิตประจําวันในการบริโภคใช้สอยปัจจัย 4
8. วิธีคิดแบบเร้าคุณธรรม - เป็นวิธีคิดแบบส่งเสริมชักนําไปในทางที่ดีงามและเป็นประโยชน์
9. วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน – เป็นวิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์
10. วิธีคิดแบบวิภัชวาท – เป็นการมองความจริงโดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละด้านครบทุกด้าน
วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ เป็นวิธคิดที่มีประโยชน์ สามารถนํามาใช้ในชีวิตประจําวัน และนําไป
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียนคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ
คิดแบบสามัญลักษณ์ หรือฝึกให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์องอาศัยของสรรพสิ่ง ฝึกให้ผู้เรียนรู้จัก
คิดอย่างถูกวิธี คิดมีระบบและคิดเป็นกุศล จึงอาจกล่าวได้ว่าการประยุกต์ใช้วิธีคิดแบบโยนิโสมสิการ
เพื่อพัฒนาตนเองและผู้เรียนให้รู้จัก “คิดเป็น ก็เป็นสุข”

เอกสารอ้างอิง
พระพรหมคุณากรณ์ (ประยุทธ ปยุตโต). (2551). วิธีคิดตามหลักพุทธรรม. กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น